คณะสาธารณสุขศาสตร์
ประกอบด้วย 3 หลักสูตร ดังนี้ คือ
- หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ภาคปกติ) (อัพเดตล่าสุด 30/04/2566)
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม (ภาคปกติ)
3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ภาคปกติ)
1. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ภาคปกติ)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Health Program
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ (ไทย) ส.บ.
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) Bachelor of Public Health
ชื่อย่อ (อังกฤษ) B.P.H.
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
– ไม่น้อยกว่า 136 หน่วยกิต
ปรัชญา
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เป็นสถาบันที่มีปณิธาณมุ่งมั่น พัฒนาองค์ความรู้ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางภูมิปัญญาที่เพียบพร้อมด้วยวิชาการ จริยธรรม และคุณธรรม ตลอดจนเป็นผู้ชี้นำด้านสุขภาวะที่ดีของสังคมอย่างยั่งยืน
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
– นักวิชาการสาธารณสุขในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ)
– นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยงานสาธารณสุขและที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสุขภาพและสาธารณสุขในทุกระดับ (ตำบล อำเภอ จังหวัด เขต ประเทศ และนานาชาติ)
– นักวิชาการสาธารณสุขประจำสถานศึกษา หน่วยงานเอกชน สถานประกอบการอื่นๆ
– อาจารย์นักวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับด้านการแพทย์และสาธารณสุขและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
– ประกอบอาชีพอิสระด้านการสาธารณสุขและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลลัพท์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcome: PLO)
PLO1: สามารถอธิบายศาสตร์ทางด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันและควบคุมโรคได้อย่างเหมาะสม
PLO2: สามารถวิเคราะห์ จัดลำดับความสำคัญของปัญหา และนำไปแก้ไขปัญหาของชุมชนได้
PLO3: สามารถให้คำปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
PLO4: สามารถบำบัดโรคเบื้องต้น ภายใต้ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขกำหนด
PLO5: สามารถประยุกต์ใช้กฎหมายทางด้านการสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาในชุมชนได้
PLO6: สามารถวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพเบื้องต้นในชุมชนได้
PLO7: ปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนได้อย่างถูกต้อง
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม) (ภาคปกติ)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Environmental Health
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
ชื่อย่อ : วท.บ. (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Environmental Health)
ชื่อย่อ : B.S. (Environmental Health)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
– ไม่น้อยกว่า 146 หน่วยกิต
ปรัชญา
เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ให้มีความรู้ ความสามารถทางทักษะปฏิบัติการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการจัดการและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม อันส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยที่ดี ตลอดจนผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเสียสละและความรับผิดชอบต่อสังคม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
– นักวิชาการสุขาภิบาล
– นักวิชาการสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
– นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานเอกชน สถานประกอบการอื่นๆ
– นักตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม
– ผู้ควบคุมระบบสิ่งแวดล้อม (ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดมลพิษอากาศ ระบบบำบัดกากของเสียอันตราย)
– นักวิจัย
– นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลลัพท์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcome: PLO)
PLO1: สามารถค้นคว้า สำรวจ รวบรวมข้อมูลทางวิชาการ และพัฒนางานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ได้
PLO2: สามารถสื่อสารและเลือกใช้เทคโนโลยีในการถ่ายทอดข้อมูลและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับชุมชนและพื้นที่ได้
PLO3: สามารถอธิบายวิธีการควบคุมมลพิษทางน้ำ อากาศ กากของเสียอันตราย การติดตามตรวจสอบ และการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกฏหมายได้
PLO4: สามารถวิเคราะห์ผลกระทบ ประเมินและวางแผนการจัดการ และตัดสินใจแนวทางแก้ไขปัญหาทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมโดยยึดหลักของจรรยาบรรณในวิชาชีพได้
3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) (ภาคปกติ)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Occupational Health and Safety
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
ชื่อย่อ : วท.บ. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Occupational Health and Safety)
ชื่อย่อ : B.S. (Occupational Health and Safety)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
– ไม่น้อยกว่า 146 หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักวิชาการสาธารณสุข
- นักวิชาชีพด้านสาธารณสุข
- ผู้ตรวจประเมินด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยในการทำงาน
- พนักงานตรวจประเมินความปลอดภัย
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม